วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

ตัวอักษรที่คนไทยใช้ก่อนลายสือไทย


       นักอักษรวิทยาต่างมีความเห็นตรงกันว่า เผ่าไทยก่อนที่จะตั้งอาณาจักรสุโขทัยและก่อนที่จะรวมตัวเป็นรัฐต่าง ๆ ในภาคเหนือ ลานช้าง และกระจายอยู่บริเวณภาคกลาง ได้อยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่บ้างเล็กบ้าง ในสมัยนั้นจะมีกำลังกองทัพ ซึ่งกองทัพหนึ่งเขียนใต้ภาพว่า "นี่สยามกุก" อีกตอนหนึ่งเขียนว่า "ราชบริพารแห่งกษัตริย์...นำหน้าสยามกุก" ซึ่งนั้นหมายถึงกลุ่มนักรบเป็นชาวสยาม หลักฐานอีกประการหนึ่งชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ก่อนที่จะเป็นรัฐอิสระ โดยเฉพาะกลุ่มภาคเหนือที่ได้รับควมรู้ทางพุทธศาสนาและอักษรศาสตร์จากมอญ 

       ดังนั้นนักอักษรวิทยาต่างเห็นพ้องกันว่า คนไทยมีประสบการณ์การเขียนหนังสือมาก่อนยุคสุโขทัยแล้ว โดยใช้อักษรที่ได้ต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ฉะนั้นลายสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์จึงมีการปรับปรุงสัณฐานและอักขรวิธีต่างๆไปจากต้นแบบมา
       สรุปได้ว่า อักษรที่คนไทยใช้ก่อนสมัยสุโขทัยนั้นได้นำอักษรขอมโบราณและอักษรมอญโบราณ อันเป็นอักษรสำคัญที่ใช้อยู่ในดินแดนไทย แต่การนำอักษรทั้งสองมาใช้เขียนภาษาไทยนั้นย่อมขัดข้องหลายประการ เพราะเหตุว่าภาษาไทยมีความแตกต่างกับภาษามอญและขอมหลายประการ

       อย่างไรก็ตามเรื่องอักษรชาวไทยใช้ก่อนสมัยสุโขทัยนี้ เป็นเพียงแนวสันนิษฐาน หากยังไม่พบศิลาจารึกที่เป็นภาษาไทยก่อนสมัยสุโขทัย เรื่องนี้ยังยุติไม่ได้ เพราะไม่มีน้ำหนักเพียงพอ และการสันนิษฐานก็ไม่นิยมใช้ในการศึกษาทางด้านอักขรวิทยา


ที่มา :https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgGdMGNGfhaWE3WMYMjDjqy_Fn4oHdgEnaZIZJdgJpv6kBoqj9I4lgD9g3dkTP8VW0AABCJxy-3dIbAZAFiF3ytA_y817Ogt9ZxRIV7CYZ4PjEnw3cMCJaEX6NJ1Un1q5yTwGD3zC8CEu0/s1600/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.JPG

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม