วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563

ลายสือไทย

คำว่า "ลายสือไทย" ในที่นี้ ได้แก่ ตัวหนังสือไทยหรืออักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง



       โดยคำว่า "ลาย" หมายถึงลวดลายก็ได้ ตัวหนังสือก็ได้  ชาวไทยใหญ่ ชาวล้านนา และชาวอิสานมักคนที่สักตามเนื้อตามตัวด้วยตัวหนังสือหรือยันต์ว่า "สักลาย" ซึ่งหมายถึง สักตัวหนังสือ สักลวดลายต่าง ๆ และชาวไทยใหญ่เรียกคนที่รู้ตัวหนังสือว่า "กุนฮู้หลิกฮู้หลาย" ซึ่งหมายถึง คนรู้เลขรู้ลาย คือรู้หนังสือนั่นเอง


       ส่วนคำว่า "สือ" เดิมคงหมายถึง สื่อ แต่อักษรไทยเดิมนั้นไม่มีรูปวรรณยุกต์ใช้ จึงอ่านว่า "สือ" หรือ สื่อ ก็ได้
       

       ที่เรียกลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงนั้น เพราะมีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกหลักที่1 ชาวไทยจึงเชื่อกันว่าพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นโดยแท้ แต่ไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด แต่จะประดิษฐ์ขึ้นโดยเอาอักษรไทยที่มีอยู่ในเวลานั้นมาดัดแปลงใหม่ บางตัวก็เอามาโดนไม่ต้องดัดแปลงก็มี แต่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนเสียใหม่ให้เขียนบรรทัดเดียวกัน



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลายสือไทย
ที่มา : https://sites.google.com/site/sukhothaipkkpp/kaneid-laysux-thiy



                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม