วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม




       อักษรเฉพาะแบบชนิดนี้เป็นการปรับปรุงอักขรวิธีเท่านั้น และประกาศใช้เป็นตัวหนังสือของทางราชการเมื่อพ.ศ. 2485 และยกเลิกใช้ในสองปีถัดมา คือเมื่อ 2487 ซึ่งเป็นยุคสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเรืองอำนาจและปรับระบบปกครองไทยเป็นระบบผู้นำ มีอำนาจสิทธิ์ขาด จึงประกาศใช้อักษรไทยแบบใหม่ เพื่อลดความยุ่งยากในการเขียนการอ่าน จึงเรียกอักษรชนิดนี้ว่า "อักษรจอมพล ป.พิบูลสงคราม"


       อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศใช้เป็นตัวอักษรทางราชการ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2485 โดยมีหลักเกณฑ์ในการปรับปรุงตัวอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ดังนี้ 
  1. ชนะพยัญ ชนะไทย 44 ตัว มีเสียงซ้ำกันจำนวนมาก เป็นการฟุ่มเฟือย จึงคงไว้พยัญชนะที่จำเป็น 31 ตัว ตัดออกเสีย 13 ตัว คือ ฃ ฅ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ฬ (เพราะพยัญชนะทั้ง 13 ตัวนี้ จะมีเพียงชนะอื่น ๆ ที่มีเสียงซ้ำกัน)
  2. สระ สระทั้ง 34 ตัว ตัดออกเสีย 5 ตัว เพราะมีเสียงซ้ำกับสระอื่น ๆ คือ สระ ใ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ  
  3. อักขรวิธี ปรับปรุงให้เขียน-อ่านง่ายขึ้น คือ ยกเลิกการเขียนซับซ้อน โดยเฉพาะคำที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤตเพื่อให้เขียนง่ายขึ้น (ธวัชปุณโณทก,2541)


      ต่อมาเมื่อนายควง อภัยวงศ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี จึงประกาศยกเลิกวิธีการเขียนแบบจอมพล ป.พิบูลสงครามจากนั้นตัวอักษรไทยได้เข้าสู่ยุคแห่งการพิมพ์จนถึงปัจจุบัน ความนิยมด้านการพิมพ์ได้มีอิทธิพลต่ออักษรไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่าตัวอักษรที่ใช้ในการเขียนของกุลบุตรกุลธิดา ซึ่งในเวลาต่อมาจะเลียนแบบอักษรตัวพิมพ์ทั้งสิน สำหรับอักษรที่เป็นลายมือเขียนของอาลักษณ์ที่มีมาแต่เดิมนั้นก็จะใช้ในโอกาสอื่น ๆ เช่น การเขียนปรกาศนียบัตร ปริญญาบัตร  (วิโรจน์ ผดุงสุนทรารักษ์, 2540)

ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjz4c5h5ORs92E4KSQ-urs5y4YutaQYvQxG5T0TSlXAQ2lDtq6nKY4IncjrBp22r0R_0Gx8XhHMtCJPXleCGbl8QGUcDmcRm0QpH_ThZvylUEuwteuZ6EqSVlWlsqPX85SmJIyJBGncBog/s1600/a%5B1%5D.png



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม