วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

อักษรสมัยพระเจ้าลิไท



       รูปของอักษรสมัยพระเจ้าลิไทเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงบ้างเล็กน้อย แต่อักขร
วิธีเปลียนไปมาก
       
       เนื่องจากชาวสุโขทัยเคยอ่านและเขียนหนังสือขอมมาก่อนลายสือไทย และเคยชินกับอักขรวิธีแบบวางรูปสระบางตัวไว้ข้างบนและบางตัวไว้ข้างล่างพยัญชนะ เมื่อมาถึงรัชกาลพระเจ้าลิไท ชาวสุโขทัยจึงกลับไปใช้วิธีเดิมตามความเคยชิน ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 2 พ.ศ. 1900 ยิ่งกว่านั้นยังได้เริ่มใช้ไม้หันอากาศในศิลาจารึกหลักที่ 5 พ.ศ. 1904 ในขณะที่ศิลาจารึกหลักที่ 8 ด้านที่ 1 และ 2 พ.ศ.1902 ยังไม่ใช้ไม้หันอากาศ

       สรุปได้ว่า พระเจ้าลิไททรงใช้ไม้หันอากาศในระหว่าง พ.ศ. 1902 ถึง 1904 โดยวางไว้ข้างบนตัวสะกดเริ่มจากแม่กงก่อน ส่วนแม่กก กน ฯลฯ คงใช้พยัญชนะสองตัวแบบลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงอยู่ต่อมาจึงใช้ไม้หันอากาศกับตัวสะกดแม่อื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้สันนิษฐานได้ว่าไม่หันอากาศเป็นเลขสองเขียนไว้บนตัวสะกดให้เข้าใจว่าเหมือนกับเขียนตัวสะกดสองครั้งในตัวอักษรไทยยวน ไม้หันอากาศและไม้โทใช้รูปเดียวกันระหว่างพยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดเว้นช่องไฟเท่า ๆ กัน และอักษรควบที่เขียนแยกจากกัน (ประเสริฐ ณ นคร ,2526)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม