วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม




       อักษรเฉพาะแบบชนิดนี้เป็นการปรับปรุงอักขรวิธีเท่านั้น และประกาศใช้เป็นตัวหนังสือของทางราชการเมื่อพ.ศ. 2485 และยกเลิกใช้ในสองปีถัดมา คือเมื่อ 2487 ซึ่งเป็นยุคสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเรืองอำนาจและปรับระบบปกครองไทยเป็นระบบผู้นำ มีอำนาจสิทธิ์ขาด จึงประกาศใช้อักษรไทยแบบใหม่ เพื่อลดความยุ่งยากในการเขียนการอ่าน จึงเรียกอักษรชนิดนี้ว่า "อักษรจอมพล ป.พิบูลสงคราม"


       อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศใช้เป็นตัวอักษรทางราชการ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2485 โดยมีหลักเกณฑ์ในการปรับปรุงตัวอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ดังนี้ 
  1. ชนะพยัญ ชนะไทย 44 ตัว มีเสียงซ้ำกันจำนวนมาก เป็นการฟุ่มเฟือย จึงคงไว้พยัญชนะที่จำเป็น 31 ตัว ตัดออกเสีย 13 ตัว คือ ฃ ฅ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ฬ (เพราะพยัญชนะทั้ง 13 ตัวนี้ จะมีเพียงชนะอื่น ๆ ที่มีเสียงซ้ำกัน)
  2. สระ สระทั้ง 34 ตัว ตัดออกเสีย 5 ตัว เพราะมีเสียงซ้ำกับสระอื่น ๆ คือ สระ ใ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ  
  3. อักขรวิธี ปรับปรุงให้เขียน-อ่านง่ายขึ้น คือ ยกเลิกการเขียนซับซ้อน โดยเฉพาะคำที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤตเพื่อให้เขียนง่ายขึ้น (ธวัชปุณโณทก,2541)


      ต่อมาเมื่อนายควง อภัยวงศ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี จึงประกาศยกเลิกวิธีการเขียนแบบจอมพล ป.พิบูลสงครามจากนั้นตัวอักษรไทยได้เข้าสู่ยุคแห่งการพิมพ์จนถึงปัจจุบัน ความนิยมด้านการพิมพ์ได้มีอิทธิพลต่ออักษรไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่าตัวอักษรที่ใช้ในการเขียนของกุลบุตรกุลธิดา ซึ่งในเวลาต่อมาจะเลียนแบบอักษรตัวพิมพ์ทั้งสิน สำหรับอักษรที่เป็นลายมือเขียนของอาลักษณ์ที่มีมาแต่เดิมนั้นก็จะใช้ในโอกาสอื่น ๆ เช่น การเขียนปรกาศนียบัตร ปริญญาบัตร  (วิโรจน์ ผดุงสุนทรารักษ์, 2540)

ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjz4c5h5ORs92E4KSQ-urs5y4YutaQYvQxG5T0TSlXAQ2lDtq6nKY4IncjrBp22r0R_0Gx8XhHMtCJPXleCGbl8QGUcDmcRm0QpH_ThZvylUEuwteuZ6EqSVlWlsqPX85SmJIyJBGncBog/s1600/a%5B1%5D.png



อักษรไทยสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)




       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าอักษรไทยมีอักขรวิธีสับสน ชาวต่างประเทศใช้ลำบากมาก เพราะสระวางไว้รอบพยัญชนะต้นไม่เป็นระบบ และเสียงสระที่เป็นสระประสมกันนั้นไม่ตรงเสียง อีกประการหนึ่งการเขียนหนังสือติดกันเป็นพืดไม่เว้นเป็นคำ ๆ ทำให้ผู้อ่านสับสนโดยเฉพาะพยัญชนะที่ไม่มีสระกำกับ ออกเสียงเป็น อะ บ้าง ออ บ้าง โอะ ลดรูปบ้าง (ปฐม  จราจร จลาจล บรม บดี)


       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงคิดดัดแปลงอักษรไทยโดยเฉพาะอักขรวิธีให้วางสระไว้หลังพยัญชนะต้นบนบรรทัดเดียวกันทุกตัว ฉะนั้นจึงต้องออกแบบรูปสระใหม่ เพื่อให้มีสัณฐานเหมาะกับการวางไว้บนบรรทัด ส่วนตัวพยัญชนะ และวรรณยุกต์นั้นคงรูปเดิม แต่ประชาชนชาวไทยก็ไม่นิยมและคงเขียนหนังสือแบบเดิมตามความเคยชินต่อไป (ธวัช ปุณโณทก,2541)

ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEg-bfdObSI0D63oSA5P8pjKcidpOuWSBkvjZgfZEqtr0Ucz2AltE50WHQUJr9-kn2Bb6Z9_0OTqI2gFTN_nMOgTUa6n8RUobY0d0xThCPR1OCrMF9UzgnQR8woDQlExom0aVqDHMV9Vef3F3kyq1Nwyfg=



อักษรไทยสมัยรัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)




       เมื่อประมาณ พ.ศ. 2390 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยยังทรงผนวชอยู่ ได้ประดิษฐ์อักษรอริยกะขึ้นมาใช้เขียนภาษาบาหลี และใช้กันอยู่ในกลุ่มพระสงฆ์ธรรมยุต แต่ไม่กว้างขวางนัก รูปสัณฐานของตัวอักษรมีเค้าอักษรโรมัน(กลับหน้ากลับหลังอักษรโรมันหรือใช้เส้นประดิษฐ์เพิ่มเติมอักษรโรมัน)


       อักษรอริยกะใช้เขียนได้เฉพาะภาษาบาลี เขียนภาษาไทยไม่ได้ เพราะมีเสียงสระไม่พอและพยัญชนะขาดไปหลายเสียง อักษรอริยกะมีพยัญชนะ 33 ตัว สระ 8 ตัว (เท่ากับภาษาบาลี)


ที่มา :https://www.silpa-mag.com/history/article_9934

อักษรไทยสมัยรัชกาลที่ 3 (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)




       สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายและตั้งบ้านเรือนในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นพ่อค้าและหมอสอนคริสตศาสนาได้พยายามศึกษาอักษรไทยจนสามารถอ่านได้เขียนได้อย่างแตกฉาน อันเป็นผลให้เกิดกิจการพิมพ์หนังสือไทย สืบต่อมาในสมัยดังกล่าว การเขียนหนังสือไทยเป็นกิจกรรมของเอกชนตามที่เคยประพฤติปฏิบัติกันสืบมาส่วนหนึ่ง แต่การพิมพ์ได้ผลิตเอกสารและแพร่หลายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะวรรณกรรมประเภทนิทาน ประกาศของทางราชการ ใบปลิวแจ้งข่าวสาร จนกระทั่งเกิดหนังสือพิมพ์รายเดือน รายปักษ์และรายวันมาจนถึงทุกวันนี้ 


       ในระยะเริ่มต้นกิจการการพิมพ์นั้น เอกสารลายมือยังมีความสำคัญทั้งกิจกรรมราชการและเอกชน ทั้งนี้เพราะมีโรงพิมพ์น้อยจึงพบเอกสารที่เป็นฉบับลายมือควบคู่กันกับเอกสารที่ผลิตโดยโรงพิมพ์ ฉะนั้น รูปสัณฐานของตัวอักษรจึงมีทั้งชนิดลายมือและชนิดพิมพ์ 


       รูปสัณฐานของตัวอักษรชนิดลายมือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากรูปสัณฐานของตัวอักษรสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จากสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมาสามารถรวบรวมเอกสารลายมือได้จำนวนมาก ซึ่งมีทั้งลายมือบรรจงและลายมือหวัด ส่วนเอกสารทางราชการยังเป็นลายมืออาลักษณ์ นั้นคือเป็นลายมือคัดบรรจงและยังคงรูปสัณฐานตามอักษรต้นกรุงรัตนโกสินทร์ทุกประการ ตัวอักษรสัณฐานนี้ใช้เขียนในประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตร ที่เรียกว่า "ตัวอาลักษณ์" ในปัจจุบันนี้


อักษรไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์



       ในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พบว่ามีเอกสารจำนวนมากที่เขียนในสมุดข่อยมีทั้งสมุดดำและสมุดขาว รวมทั้งที่เขียนในใบลาน เอกสารเหล่านี้เป็นหนังสือราชการบ้างและเป็นวรรณคดีบ้าง รวมทั้งสำเนาหรือบันทึกส่วนตัวของเอกชน ลายมือที่เขียนในเอกสารนั้น ๆ มีทั้งที่เป็นลายมือบรรจงและลายมือหวัด ในการพิจารณารูปสัณฐานของตัวอักษรต้องพิจารณาลายมืออาลักษณ์ เพราะนอกจากคัดตัวอักษรสม่ำเสมอแล้ว ลายเส้นของอักษรยังประณีตสวยงามอีกด้วย 


       รูปแบบของตัวอักษรสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ก่อนที่จะมีกิจการโรงพิมพ์จะพบว่ารูปสัณฐานของตัวอักษรยังเป็นทรงเหลี่ยมเส้นตรงหักเหลี่ยมหักมุมชัดเจน แต่ไม่นิยมเล่นหางยาว ๆ และย่อมุมหักเหลี่ยมเหมือนเอกสารทางราชการสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เรียกว่า "อักษรไทยย่อ" ส่วนอักขรวิธีใช้ระบบเดียวกันสืบต่อมา วรรณยุกต์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์พบทั้ง 4 รูป คือเอก โท ตรี และจัตวา มีรูปสัณฐานเหมือนปัจจุบันทุกรูป (ธวัช ปุณโณทก,2541)


👉 อักษรแบบรัตนโกสินทร์ จาก https://youtu.be/FGblm1DmnrI 👈




วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

อักษรสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช



       อักษรไทยได้วิวัฒนาการต่อมาจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรไทยสมัยนี้มีรูปร่างคล้ายกับตัวอักษรไทยปัจจุบันมาก เข้าใจว่าเมื่อมีผู้แต่งหนังสือจินดามณีขึ้นเป็นหนังสือแบบเรียนในสมัยนั้น ทำให้หนังสือแพร่หลายไปสู่ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป หนังสือแบบเรียนช่วยให้รูปแบบของตัวหนังสือคงอยู่ รูปตัวอักษรจึงเปลี่ยนแปลงต่อไปอีกน้อยมาก


ที่มา : https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2018/03/88888888888.jpg

     

อักษรสมัยพระเจ้าลิไท



       รูปของอักษรสมัยพระเจ้าลิไทเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงบ้างเล็กน้อย แต่อักขร
วิธีเปลียนไปมาก
       
       เนื่องจากชาวสุโขทัยเคยอ่านและเขียนหนังสือขอมมาก่อนลายสือไทย และเคยชินกับอักขรวิธีแบบวางรูปสระบางตัวไว้ข้างบนและบางตัวไว้ข้างล่างพยัญชนะ เมื่อมาถึงรัชกาลพระเจ้าลิไท ชาวสุโขทัยจึงกลับไปใช้วิธีเดิมตามความเคยชิน ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 2 พ.ศ. 1900 ยิ่งกว่านั้นยังได้เริ่มใช้ไม้หันอากาศในศิลาจารึกหลักที่ 5 พ.ศ. 1904 ในขณะที่ศิลาจารึกหลักที่ 8 ด้านที่ 1 และ 2 พ.ศ.1902 ยังไม่ใช้ไม้หันอากาศ

       สรุปได้ว่า พระเจ้าลิไททรงใช้ไม้หันอากาศในระหว่าง พ.ศ. 1902 ถึง 1904 โดยวางไว้ข้างบนตัวสะกดเริ่มจากแม่กงก่อน ส่วนแม่กก กน ฯลฯ คงใช้พยัญชนะสองตัวแบบลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงอยู่ต่อมาจึงใช้ไม้หันอากาศกับตัวสะกดแม่อื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้สันนิษฐานได้ว่าไม่หันอากาศเป็นเลขสองเขียนไว้บนตัวสะกดให้เข้าใจว่าเหมือนกับเขียนตัวสะกดสองครั้งในตัวอักษรไทยยวน ไม้หันอากาศและไม้โทใช้รูปเดียวกันระหว่างพยัญชนะต้น สระ และตัวสะกดเว้นช่องไฟเท่า ๆ กัน และอักษรควบที่เขียนแยกจากกัน (ประเสริฐ ณ นคร ,2526)

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

ตัวอักษรที่คนไทยใช้ก่อนลายสือไทย


       นักอักษรวิทยาต่างมีความเห็นตรงกันว่า เผ่าไทยก่อนที่จะตั้งอาณาจักรสุโขทัยและก่อนที่จะรวมตัวเป็นรัฐต่าง ๆ ในภาคเหนือ ลานช้าง และกระจายอยู่บริเวณภาคกลาง ได้อยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่บ้างเล็กบ้าง ในสมัยนั้นจะมีกำลังกองทัพ ซึ่งกองทัพหนึ่งเขียนใต้ภาพว่า "นี่สยามกุก" อีกตอนหนึ่งเขียนว่า "ราชบริพารแห่งกษัตริย์...นำหน้าสยามกุก" ซึ่งนั้นหมายถึงกลุ่มนักรบเป็นชาวสยาม หลักฐานอีกประการหนึ่งชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ก่อนที่จะเป็นรัฐอิสระ โดยเฉพาะกลุ่มภาคเหนือที่ได้รับควมรู้ทางพุทธศาสนาและอักษรศาสตร์จากมอญ 

       ดังนั้นนักอักษรวิทยาต่างเห็นพ้องกันว่า คนไทยมีประสบการณ์การเขียนหนังสือมาก่อนยุคสุโขทัยแล้ว โดยใช้อักษรที่ได้ต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ฉะนั้นลายสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์จึงมีการปรับปรุงสัณฐานและอักขรวิธีต่างๆไปจากต้นแบบมา
       สรุปได้ว่า อักษรที่คนไทยใช้ก่อนสมัยสุโขทัยนั้นได้นำอักษรขอมโบราณและอักษรมอญโบราณ อันเป็นอักษรสำคัญที่ใช้อยู่ในดินแดนไทย แต่การนำอักษรทั้งสองมาใช้เขียนภาษาไทยนั้นย่อมขัดข้องหลายประการ เพราะเหตุว่าภาษาไทยมีความแตกต่างกับภาษามอญและขอมหลายประการ

       อย่างไรก็ตามเรื่องอักษรชาวไทยใช้ก่อนสมัยสุโขทัยนี้ เป็นเพียงแนวสันนิษฐาน หากยังไม่พบศิลาจารึกที่เป็นภาษาไทยก่อนสมัยสุโขทัย เรื่องนี้ยังยุติไม่ได้ เพราะไม่มีน้ำหนักเพียงพอ และการสันนิษฐานก็ไม่นิยมใช้ในการศึกษาทางด้านอักขรวิทยา


ที่มา :https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgGdMGNGfhaWE3WMYMjDjqy_Fn4oHdgEnaZIZJdgJpv6kBoqj9I4lgD9g3dkTP8VW0AABCJxy-3dIbAZAFiF3ytA_y817Ogt9ZxRIV7CYZ4PjEnw3cMCJaEX6NJ1Un1q5yTwGD3zC8CEu0/s1600/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.JPG

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563

ลายสือไทย

คำว่า "ลายสือไทย" ในที่นี้ ได้แก่ ตัวหนังสือไทยหรืออักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง



       โดยคำว่า "ลาย" หมายถึงลวดลายก็ได้ ตัวหนังสือก็ได้  ชาวไทยใหญ่ ชาวล้านนา และชาวอิสานมักคนที่สักตามเนื้อตามตัวด้วยตัวหนังสือหรือยันต์ว่า "สักลาย" ซึ่งหมายถึง สักตัวหนังสือ สักลวดลายต่าง ๆ และชาวไทยใหญ่เรียกคนที่รู้ตัวหนังสือว่า "กุนฮู้หลิกฮู้หลาย" ซึ่งหมายถึง คนรู้เลขรู้ลาย คือรู้หนังสือนั่นเอง


       ส่วนคำว่า "สือ" เดิมคงหมายถึง สื่อ แต่อักษรไทยเดิมนั้นไม่มีรูปวรรณยุกต์ใช้ จึงอ่านว่า "สือ" หรือ สื่อ ก็ได้
       

       ที่เรียกลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงนั้น เพราะมีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกหลักที่1 ชาวไทยจึงเชื่อกันว่าพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นโดยแท้ แต่ไม่ได้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด แต่จะประดิษฐ์ขึ้นโดยเอาอักษรไทยที่มีอยู่ในเวลานั้นมาดัดแปลงใหม่ บางตัวก็เอามาโดนไม่ต้องดัดแปลงก็มี แต่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนเสียใหม่ให้เขียนบรรทัดเดียวกัน



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลายสือไทย
ที่มา : https://sites.google.com/site/sukhothaipkkpp/kaneid-laysux-thiy



                                

โพสต์แนะนำ

อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม