วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

อักษรไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์



       ในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พบว่ามีเอกสารจำนวนมากที่เขียนในสมุดข่อยมีทั้งสมุดดำและสมุดขาว รวมทั้งที่เขียนในใบลาน เอกสารเหล่านี้เป็นหนังสือราชการบ้างและเป็นวรรณคดีบ้าง รวมทั้งสำเนาหรือบันทึกส่วนตัวของเอกชน ลายมือที่เขียนในเอกสารนั้น ๆ มีทั้งที่เป็นลายมือบรรจงและลายมือหวัด ในการพิจารณารูปสัณฐานของตัวอักษรต้องพิจารณาลายมืออาลักษณ์ เพราะนอกจากคัดตัวอักษรสม่ำเสมอแล้ว ลายเส้นของอักษรยังประณีตสวยงามอีกด้วย 


       รูปแบบของตัวอักษรสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ก่อนที่จะมีกิจการโรงพิมพ์จะพบว่ารูปสัณฐานของตัวอักษรยังเป็นทรงเหลี่ยมเส้นตรงหักเหลี่ยมหักมุมชัดเจน แต่ไม่นิยมเล่นหางยาว ๆ และย่อมุมหักเหลี่ยมเหมือนเอกสารทางราชการสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เรียกว่า "อักษรไทยย่อ" ส่วนอักขรวิธีใช้ระบบเดียวกันสืบต่อมา วรรณยุกต์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์พบทั้ง 4 รูป คือเอก โท ตรี และจัตวา มีรูปสัณฐานเหมือนปัจจุบันทุกรูป (ธวัช ปุณโณทก,2541)


👉 อักษรแบบรัตนโกสินทร์ จาก https://youtu.be/FGblm1DmnrI 👈




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม