วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

อักษรไทยสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)




       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าอักษรไทยมีอักขรวิธีสับสน ชาวต่างประเทศใช้ลำบากมาก เพราะสระวางไว้รอบพยัญชนะต้นไม่เป็นระบบ และเสียงสระที่เป็นสระประสมกันนั้นไม่ตรงเสียง อีกประการหนึ่งการเขียนหนังสือติดกันเป็นพืดไม่เว้นเป็นคำ ๆ ทำให้ผู้อ่านสับสนโดยเฉพาะพยัญชนะที่ไม่มีสระกำกับ ออกเสียงเป็น อะ บ้าง ออ บ้าง โอะ ลดรูปบ้าง (ปฐม  จราจร จลาจล บรม บดี)


       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงคิดดัดแปลงอักษรไทยโดยเฉพาะอักขรวิธีให้วางสระไว้หลังพยัญชนะต้นบนบรรทัดเดียวกันทุกตัว ฉะนั้นจึงต้องออกแบบรูปสระใหม่ เพื่อให้มีสัณฐานเหมาะกับการวางไว้บนบรรทัด ส่วนตัวพยัญชนะ และวรรณยุกต์นั้นคงรูปเดิม แต่ประชาชนชาวไทยก็ไม่นิยมและคงเขียนหนังสือแบบเดิมตามความเคยชินต่อไป (ธวัช ปุณโณทก,2541)

ที่มา : https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEg-bfdObSI0D63oSA5P8pjKcidpOuWSBkvjZgfZEqtr0Ucz2AltE50WHQUJr9-kn2Bb6Z9_0OTqI2gFTN_nMOgTUa6n8RUobY0d0xThCPR1OCrMF9UzgnQR8woDQlExom0aVqDHMV9Vef3F3kyq1Nwyfg=



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม