วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

อักษรไทยสมัยรัชกาลที่ 3 (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)




       สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายและตั้งบ้านเรือนในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นพ่อค้าและหมอสอนคริสตศาสนาได้พยายามศึกษาอักษรไทยจนสามารถอ่านได้เขียนได้อย่างแตกฉาน อันเป็นผลให้เกิดกิจการพิมพ์หนังสือไทย สืบต่อมาในสมัยดังกล่าว การเขียนหนังสือไทยเป็นกิจกรรมของเอกชนตามที่เคยประพฤติปฏิบัติกันสืบมาส่วนหนึ่ง แต่การพิมพ์ได้ผลิตเอกสารและแพร่หลายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะวรรณกรรมประเภทนิทาน ประกาศของทางราชการ ใบปลิวแจ้งข่าวสาร จนกระทั่งเกิดหนังสือพิมพ์รายเดือน รายปักษ์และรายวันมาจนถึงทุกวันนี้ 


       ในระยะเริ่มต้นกิจการการพิมพ์นั้น เอกสารลายมือยังมีความสำคัญทั้งกิจกรรมราชการและเอกชน ทั้งนี้เพราะมีโรงพิมพ์น้อยจึงพบเอกสารที่เป็นฉบับลายมือควบคู่กันกับเอกสารที่ผลิตโดยโรงพิมพ์ ฉะนั้น รูปสัณฐานของตัวอักษรจึงมีทั้งชนิดลายมือและชนิดพิมพ์ 


       รูปสัณฐานของตัวอักษรชนิดลายมือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากรูปสัณฐานของตัวอักษรสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จากสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมาสามารถรวบรวมเอกสารลายมือได้จำนวนมาก ซึ่งมีทั้งลายมือบรรจงและลายมือหวัด ส่วนเอกสารทางราชการยังเป็นลายมืออาลักษณ์ นั้นคือเป็นลายมือคัดบรรจงและยังคงรูปสัณฐานตามอักษรต้นกรุงรัตนโกสินทร์ทุกประการ ตัวอักษรสัณฐานนี้ใช้เขียนในประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตร ที่เรียกว่า "ตัวอาลักษณ์" ในปัจจุบันนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์แนะนำ

อักษรสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม